วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ข้อมูลความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-สหราชอาณาจักร

ข้อมูลความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-สหราชอาณาจักร


ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

การค้า
สหราชอาณาจักรเป็นเป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 2 ของไทยในกลุ่มประเทศยุโรป โดยเป็นประเทศที่ไทยส่งสินค้าออกไปมากเป็นอันดับที่ 1 ในกลุ่มประเทศยุโรป
- ประเทศไทยเป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 33 ของ สหราชอาณาจักร
- มีส่วนแบ่งตลาดนำเข้าร้อยละ 0.63
- เป็นอันดับที่ 9 ในกลุ่มประเทศเอเชียรองจาก จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน อินเดีย และมาเลเซีย
- การค้าระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรในปี 2548
 ปริมาณการค้า 4,091.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ลดลงจากปี 2547 ร้อยละ 4.83)
    ไทยส่งออก 2,811.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
    ไทยนำเข้า 1,280.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
    ไทยได้เปรียบดุลการค้า 1,530.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

- การค้าระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรในปี 2549 (ม.ค.-เม.ย.49)
  ปริมาณการค้า 1,417.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
    ไทยส่งออก 1,112.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
    (เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันเมื่อปี 2549 ร้อยละ 3.45)
    ไทยนำเข้า 305.92 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
    (ลดลงจากช่วงเดียวกันเมื่อปี 2549 ร้อยละ 19.07)
    ไทยได้เปรียบดุลการค้า 806.08 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สินค้าส่งออกสำคัญของไปยังสหราชอาณาจักรที่สำคัญ ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ไก่แปรรูป เสื้อผ้าสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์พลาสติก อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป รองเท้าและชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง รถจักรยานและส่วนประกอบ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวและบ้านเรือน เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องยกทรง รัดทรง เป็นต้น
 สินค้านำเข้าจากสหราชอาณาจักรที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องดื่มประเภทน้ำแร่ น้ำอัดลมและสุรา เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและ ส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลิตภัณฑ์โลหะ ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์เครื่องบิน เครื่องร่อน และอุปกรณ์การบินและส่วนประกอบ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ สินแร่โลหะอื่นๆ และเศษโลหะ เป็นต้น
สินค้ากลุ่มเป้าหมายของไทยในตลาดสหราชอาณาจักร ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารและเครื่องดื่ม เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ยางและผลิตภัณฑ์ยาง และสินค้า OTOP
การลงทุน
สหราชอาณาจักรเป็นแหล่งเงินลงทุนจากยุโรปที่สำคัญที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5 ของ FDI ทั้งหมดในไทย
ใน ช่วงสิบปีที่ผ่านมา ( 2543 - 2548) มีโครงการลงทุนจากสหราชอาณาจักรขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI รวม 224 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 123.3 พัน ล้านบาท โดยโครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการในสาขาบริการ และสาธารณูปโภค อิเลคทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมเบา
สาขาการลงทุนที่มีศักยภาพและเป็นเป้าหมาย ในการดึงดูดการลงทุนจากสหราชอาณาจักรได้แก่ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร และอุตสาหกรรมเกษตร
สาขาที่สหราชอาณาจักรเห็นว่ามีศักยภาพในการลงทุน การส่งออกและการร่วมมือกับไทย ได้แก่ การเกษตร พืชสวนและประมง อาหารและเครื่องดื่ม การศึกษาและฝึกอบรม พลังงาน สิ่งแวดล้อม วิศวเครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้าและการจัดทำโครงสร้างของขบวนการผลิต (process engineering) อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (IT Hardware) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ software และบริการคอมพิวเตอร์ลักษณะธุรกิจต่อธุรกิจ กิจกรรมช่วงเวลาว่างและการท่องเที่ยว สนามบิน อุตสาหกรรมรถยนต์และระบบทางรถไฟ
การท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวสหราชอาณาจักรที่เดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศไทยมากเป็นอันดับ 1 ของนักท่องเที่ยวจากยุโรป ใน ปี 2547 มี จำนวน 634,750 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2546 ร้อยละ 15.39
นักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปท่องเที่ยวในสหราชอาณาจักรประมาณ 22,000 คน ต่อปี
ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2548 มีนักท่องเที่ยวสหราชอาณาจักรเดินทางไปยังประเทศไทย จำนวน 361,584 คน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2547 ร้อยละ 1.09 อย่างไรก็ดี สำนักงานการท่องเที่ยวประจำกรุงลอนดอน คาดว่าในปี 2548 ตลาดนักท่องเที่ยว
สหราชอาณาจักรประมาณการว่าจำนวนนักท่องเที่ยวสหราชอาณาจักรรวมตลอดปี 2548 ได้ขยายตัวมากขึ้น เป็นประมาณ 700,000 คน
นักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักรที่เดินทางไปประเทศไทย จะแบ่งตามอาชีพตามลำดับดังนี้
    (1) ผู้ประกอบอาชีพ (professionals)
    (2) ผู้ประกอบอาชีพด้านบริหาร
    (3) ผู้ประกอบธุรกิจ
    (4) แรงงาน
    (5) เกษตรกร
    (6) ข้าราชการ
    (7) แม่บ้าน
    (8) นักศึกษา
    (9) ผู้เกษียณอายุ
    (10) อื่นๆ
    (11) ไม่ระบุอาชีพ
จากข้อมูลเกี่ยวกับเช่าห้องพักในโรงแรมในประเทศ จะเห็นได้ว่า ตลาดสำหรับนักท่องเที่ยวสหราชอาณาจักร จัดเป็นตลาดของผู้มีรายได้สูงเพราะมักนิยมพักในโรงแรม 3-5 ดาว ซึ่งต่างจากนักท่องเที่ยวจากประเทศยุโรปอื่นๆ
การบิน
บริษัทการบินไทยมีเที่ยวบินที่บินใน เส้นทางกรุงเทพฯ – กรุงลอนดอน ในขณะนี้ สัปดาห์ละ 14 เที่ยวบิน
(หรือวันละ 2 เที่ยวบิน)
นอกจากนั้น ยังมีสายการบินอื่นๆ บินในเส้นทางกรุงเทพฯ-กรุงลอนดอนอีกหลายสาย เช่น สายการบินจากประเทศในตะวันออกกลางเป็นต้น
การเมือง
ไทยและสหราชอาณาจักรมีความสัมพันธ์ทางการค้ามากว่า 400 ปี ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์การติดต่อดำเนินการผ่านเมืองขึ้นของของสหราช อาณาจักรในขณะนั้น คือ อินเดีย จนมีการลงนามสนธิสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกัน เป็นสนธิสัญญาฉบับแรกเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2369 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สหราชอาณาจักรได้ส่ง Sir John Bowring มาเป็นราชทูตและได้มีการลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพและการค้า เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2398 ซึ่งนับว่าเป็นการสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหราชอาณาจักรระหว่างกัน อย่างเป็นทางการ และในปี 2400 ไทยได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับสหราชอาณาจักรเป็นการตอบแทน จนเมื่อปี 2425 ได้แต่งตั้งหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ ชุมสาย เป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหราชอาณาจักรเป็นคนแรก
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรในปัจจุบัน ดำเนินไปอย่างราบรื่นบนพื้นฐานมิตรภาพทั้งในกรอบทวิภาคี และกรอบความร่วมมือพหุภาคี ในองค์การระหว่างประเทศเวทีความร่วมมือระดับภูมิภาค และการรักษาสันติภาพ การแลกเปลี่ยนการเยือนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นและกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของความ ร่วมมือมากยิ่งขึ้น
มีการเยือนในระดับพระราชวงศ์อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเสด็จฯ เยือนสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ (state visit) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ระหว่างวันที่ 19-21 กรกฎาคม 2503 และเสด็จฯ ส่วนพระองค์เมื่อเดือนสิงหาคม 2509 สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ 2 ครั้ง (ครั้งแรก (state visit) เมื่อ10-15 กุมภาพันธ์ 2515 และครั้งที่สอง (state visit) ระหว่าง 28 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2539 ภายหลังการเยือนที่ พตท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มาเยือน
สหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 12 – 15 พฤษภาคม 2545 และได้หารือกับ และนายโทนี บแลร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องร่วมกันในหลักการที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ไทย-สหราช อาณาจักรในลักษณะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ซึ่งได้ระบุไว้ในแถลงการณ์ร่วมฯ ( joint statement) และในการเยือนอย่างเป็นทางการของ พตท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นครั้งที่สองเมื่อระหว่างวันที่ 12-14 ตุลาคม 2548 ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องที่จะจัดทำแผนปฏิบัติการร่วม ( Joint Plan of Action) ระหว่างกัน ซึ่งฝ่ายไทยได้จัดทำร่างแผนปฏิบัติการร่วมส่งให้ฝ่ายสหราชอาณาจักรพิจารณา แล้ว ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการ พิจารณาของฝ่ายสหราชอาณาจักร
การศึกษา
ไทยและสหราชอาณาจักรมีประวัติความร่วมมือด้านการศึกษาที่ยาวนาน มีความร่วมมือในระดับสถาบันการศึกษาใน ทุกระดับอย่างกว้างขวาง สถาบัน British Council ในประเทศไทยเป็นหน่วยงานหลักของฝ่ายสหราชอาณาจักรที่ได้มี โครงการความร่วมมือด้านการศึกษาต่างๆ กับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องของไทย
รัฐบาลไทยได้เริ่มส่งนักเรียนทุนที่เรียกว่า King’s Scholarship มารับทุนในอังกฤษเป็นประเทศแรก และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงส่งพระราชโอรสหลายพระองค์มาทรงรับการศึกษาในประเทศอังกฤษ เพื่อทรงปรับปรุงประเทศไทยให้ก้าวหน้าแบบตะวันตก
ปัจจุบันมีนักศึกษาไทยในสถาบันการศึกษาในสหราชอาณาจักรมากกว่า 4, 300 คน มีนักเรียนที่รับทุนการศึกษา จากสหราชอาณาจักรประมาณ 400 คน
กระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักรได้ให้ทุนการศึกษา Chevening Scholarship แก่นักศึกษาไทยให้ไปศึกษา ในสหราชอาณาจักรในระดับอุดมศึกษาเป็นประจำทุกปี
นอกจากนั้น ภาคเอกชนอังกฤษ เช่น บริษัท Shell ได้มอบทุนการศึกษาให้นักศึกษาไทยมาศึกษาที่อังกฤษ เป็นประจำทุกปี และสถาบันการศึกษาหลายสถาบันได้มอบทุนการศึกษาให้นักศึกษาไทยมาศึกษาที่ อังกฤษ อาทิ Imperial College ได้ทำความตกลงกับรัฐบาลไทยในการให้ทุนการศึกษาให้นักศึกษาไทยมาศึกษาปริญญา เอกด้าน Biomedical Engineering ที่ Imperial College ปีละ 5 ทุน เป็นเวลา 5 ปี University of Edinburgh ได้ทำความตกลงกับรัฐบาลไทยในการให้ทุนการศึกษาให้นักศึกษาไทยมาศึกษาปริญญา ตรีขึ้นไปปีละ 5 ทุน เป็นเวลา 5 ปี เป็นต้น
ชุมชนไทยในสหราชอาณาจักร
มีชาวไทยอาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักรมากกว่า 36 ,000 คน ซึ่งมีกลุ่มหลักได้แก่
    (1) คนไทยที่ประกอบอาชีพ ร้านอาหารไทย โดยมีถิ่นพำนักถาวร
    (2) คนไทยที่สมรสกับชาวอังกฤษหรือชาติอื่น
    (3) นักเรียนไทยทั้งประเภทราชการและนักเรียนทุนส่วนตัว
ร้านอาหารไทยใน สหราชอาณาจักร
ขณะนี้มีร้านอาหารไทยประมาณ 1,000 แห่งทั่วสหราชอาณาจักร ในจำนวนนี้ มีร้านอาหารไทยที่ได้รับตรา Thailand’s Brand จำนวนประมาณ 40 ร้าน และที่ได้รับตรา “Thai Select” จำนวน 15 ร้าน
วัดไทย
ขณะนี้มีวัดพุทธศาสนาสายประเทศไทยจำนวน 14 แห่งในสหราชอาณาจัร และมีพระธรรมทูตจำพรรษาอยู่ 40 รูป
     


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น