อริสโตเติล ได้อธิบายว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคมและธรรมชาติของมนุษย์ชอบอยู่รวมกันเป็นเหล่า มีการติดต่อระหว่างกัน ดำรงชีวิตภายใต้ระเบียบการปกครอง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อที่จะให้เป็นแบบแผนอันพึงปฏิบัติในการดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคม
ในอดีตเมื่อ 500 ปีที่แล้ว ดินแดนที่จักว่าเป็นแหล่งที่มีอารยธรรมรุ่งเรืองของโลก คือลุ่มแม่น้ำไนล์ ไทริส ยูเฟติส สินธุ และลุ่มน้ำเหลือง เป็นแหล่งที่มนุษย์ได้ดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ เช่นความร่วมมือในด้านการชลประทาน เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตทางการเกษตรกรรมและสิ่งอื่นๆ ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ในระยะเริ่มแรก รวมตัวกันเป็นกลุ่มเล็กๆ แล้วขยายออกไปเป็นกลุ่มใหญ่ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาทางวัฒนธรรมและความคิดทางการเมืองภายในกลุ่ม จากนั้นก็มีการติดต่อระหว่างกลุ่มและนำไปสู่การมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องไป
สมัยกรีก ในระหว่าง 200 – 300 ปี ก่อนคริสต์ศักราช มีภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมคล้ายๆ กัน แต่นครรัฐต่าง ไม่ค่อยมีความร่วมมือกัน มีการแข่งขันแก่งแย่งชิงดีกัน และทำสงครามกันบ่อยๆ ทำให้ขาดความสามัคคี ทำให้กรีกไม่สามารถต่อต้านภัยการรุกรานจากภายนอกได้ จึงได้ตระหนักถึงความจำเป็นของตนในการที่จะต้องมีสัมพันธไมตรีกับรัฐอื่น เพื่อตนจะได้รับผลประโยชน์บางอย่าง จึงเริ่มมีการกำหนดนโยบายของตนเองเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กับอีกรัฐหนึ่ง และแต่งตั้งบุคคลของตนเป็นทูตทำหน้าที่เจราจรติดต่อกัน ในสมัยแรกๆ การเจราจรติดต่อในรูปการใช้ผู้ถือสาส์นระหว่างรัฐ ทำหน้าที่แจ้งข่าวของเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่ง ผู้ที่ได้รับการเจราจรติดต่อต้องเป็นบุคคลที่เป็นนักพูด มีความสามารถในการโน้มน้าวจิตใจคนในชาติอื่นๆ ให้เห็นกับนโยบาย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของตน
สมัยโรมัน ระยะแรกได้เน้นกฎหมายระหว่างประเทศเป็นหลัก และคำนึงถึงของศิลปการติดต่อเจราจรใช้วิธีการติดต่อสัมพันธ์ ดังนี้
1. เป็นมิตรกับเผ่าชนใกล้เคียงด้วยการให้ความช่วยเหลือหรือยกยอ
2. ให้คนนอกศาสนาหันมานับถือศาสนาคริสต์
ต่อมาในระยะหลังได้หาข้อเท็จจริงและข่าวสารภายในประเทศ อื่น ระยะนี้ยังไม่มีการส่งทูตไปประจำถาวร เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15อิตาลีส่งทูตไปประจำที่ต่างๆ ส่วนกฎเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับตัวแทนของตนที่ไปประจำในอีกประเทศหนึ่งมามีอย่างจริงจังก็ต่อเมื่อหลังคริสต์ศตวรรษ 1815 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มมีการตกลงกันระหว่างนานาประเทศ ในช่วงระหว่าง ค.ศ.1815-1818 ประเทศต่างๆ ได้มีการประชุมกันที่นครเวียนนา มีการวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับอันดับอาวุโสของตนแทนประเทศ
สมัยโรมัน ประมาณราว 350 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ โรมันได้ขยายอำนาจของตนออกไปอย่างกว้างขวาง และสมารถครอบครองดินแดนต่างๆ เอาไว้ โดยใช้มาตรการรุนแรง ใช้กำลังปราบปรามได้มีการอกกฎหมาย วางกฎเกณฑ์และระเบียบต่างๆ เพื่อบังคับใช้ภายในและใช้ในการติดต่อกับรัฐอื่น
สมัยฟิวดัล ศริสต์ศตวรรษที่ 10 เป็นสมัยการใช้นโยบายการใช้กำลังเลือดและเหล็ก และได้ดำเนินเรื่อยมาจนถึงศตวรรษที่ 15 กษัตริย์มีฐานะเป็นสัญลักษณ์ของเอกภาพ เพราะมีองค์การคริสต์ศาสนาสนับสนุนและอำนาจของกษัตริย์มีอยู่ในทางทฤษฎีเป็นส่วนใหญ่ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในยุดนี้อยู่ในยุดมืด
สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา มีการตื่นตัว การคิดค้นวิชาการต่างๆ มีศาสตร์ใหม่ๆ เกดขึ้นมากมาย
ทางด้านศาสนา มีการเปลี่ยนแปลง เดิมพระสันตะปาปาเคยมีอำนาจมากและมักจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ได้ก่อนให้เกิดความไม่พอใจในหมู่กษัตริย์ มีการจัดตั้งศาสนานิกายใหม่ๆ ไม่ยอมรับอำนาจของพระสันตะปาปา ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนา พลังทางศาสนายังแฝงอยู่ในการเมืองในรูปศาสนาประจำชาติ มีการทำสงครามทางศาสนาระหว่างเจ้าผู้ครองนครต่างๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1618 ได้เกิดสงครามระหว่างพวกที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนท์ขึ้น สงครามได้ยุติลง ค.ศ. 1648 มีการทำสัญญาสงบศึกที่มีชื่อว่า สนธิสัญญา westphalia ช่วงเวลาการทำสงครามนานถึง 30 ปี ผลจากสงคราม ได้ช่วยปูพื้นของการมีระบบรัฐสมัยใหม่ในยุโรป โดยลดฐานะจักรวรรคโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire) ลงให้เท่าๆ กับดินแดนที่มีกษัตริย์ปกครองสมัยนั้น เช่น ฝรั่งเศส สเปน สวีเดน และอังกฤษ
นอกจากนั้น ยังมีข้อตกลงในสนธิสัญญาเวสฟาเวีย เกี่ยวกับหลักการที่ว่า รัฐอธิปไตยที่เป็นเอกราชทั้งหลายเท่าเทียมกัน แสดงให้เห็นว่าอำนาจของสัตปาปาลดลง มีฐานะเพียงเจ้าผู้ครองนครรัฐ ซึ่งมีความผูกพันกับศาสนาและสนธิสัญญาดังกล่าว ยังชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการวางกฎเกณฑ์ที่จะคุ้มครองประชาชนในยามสงคราม มีการกล่าวถึงการปฏิบัติต่อผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บ นักโทษ ห้ามปล้น ห้ามทำลายศิลปวัตถุและการกระทำอื่นที่ไร้มนุษยธรรม
ระบบรัฐในปี ค.ศ. 1648 ในขั้นแรกจำกัดอยู่ในยุโรป ต่อมาในปลาย ศตวรรษที่ 19 ได้แสวงหาอาณานิคมจนได้อาณานิคมมาครอบครองในภูมิภาคต่างๆ ดินแดนที่ถูกครอบครองได้รับวัฒนาธรรมและระบบต่างๆ ไปใช้ในรัฐของตน จึงทำให้เกิดความผูกพันหรือความสัมพันธ์กันขึ้นระหว่างประเทศผู้ครอบครองกับประเทศผู้ถูกครอบครอง
การเปลี่ยนแปลงทางด้านความสัมพันธ์เริ่มเห็นชัดเจนขึ้นตั้งแต่ช่วงของสงคราม และหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อมีการทำสงครามย่อมมีฝ่ายแพ้ ฝ่ายชนะ และมีประเทศที่เข้าข้างทั้งฝ่ายแพ้และฝ่ายชนะ ทั้งผู้แพ้และชนะต้องเหน็ดเหนื่อยบอบช้ำจากสงคราม ซึ่งส่งผลกระทบในทุกๆด้าน ทำให้ต่างก็หาวิธีที่จะป้องกันมิให้เกิดสงครามขึ้นในอนาคต มีการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศขึ้น คือ สันนิบาตชาติ ซึ่งเป็นการแสดงออกซึ่งวัตถุประสงค์ร่วมกันในอันที่จะรักษาสันติภาพของโลกไว้ โดยทำสัญญา Kellog Briand Pact ได้กำหนดหลักการว่า ประเทศสมาชิกจะไม่ใช้สงครามเป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาระหว่างกัน
ระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงกำลังปฏิวัติระบบระหว่างประเทศ (ทศวรรษที่ 1990) เป็นที่น่าสังเกตได้ว่าสหภาพโซเวียตตั้งแต่เป็นอภิมหาอำนาจ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1945 และได้ล่มสลายลงในปี ค.ศ.1991 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของโซเวียตกับกลุ่มบริวารและประเทศอื่นๆ เปลี่ยนแปลงไปด้วย (การล่มสลายเกิดจากปัญหาสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และเชื้อชาติ)
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1947 เป็นปีที่สหรัฐอเมริกาประกาศสงครามเย็นกับสหภาพโซเวียต ได้มีการแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 ค่าย คือ ค่ายสหรัฐอเมริกา ที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย และสหภาพโซเวียต ที่มีการปกครองแบบสังคมคอมมิวนิสต์ ซึ่งทำให้การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศผูกกับค่ายหนึ่งค่ายใดความช่วยเหลือก็จะให้ความช่วยเหลือเฉพาะประเทศที่อยู่ในค่ายของตนเอง เช่น การที่สหรัฐอเมริกาประกาศให้ความช่วยเหลือตามแผนทรูแมน โดยเจาะจงเฉพาะกรีก และตุรกีเป็นการสกัดกั้นการแผ่ขยายอิทธิพลของสหภาพโซเวียต และต่อมาสหรัฐอเมริกาได้ประกาศแผนมาร์แชล เพื่อให้ความช่วยเหลือประเทศที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และประเทศที่ถูกคอมมิวนิสต์คุกคาม
การที่ประเทศสหภาพโซเวียต ล่มสลายทำให้เกิดประเทศใหม่ขึ้นหลายประเทศ การดำเนินนโยบายประเทศเป็นอิสระ ไม่ได้ถูกบีบบังคับ รัฐต่างๆ พยายามกำหนดแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นตัวของตัวเอง
ประเทศมหาอำนาจพยายามสร้างความเชื่อถือให้บรรดาประเทศเล็ก เห็นว่าตนเองเป็นที่พึ่งพาอาศัยได้ ประเทศที่เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ทำให้หลายประเทศหันมาสร้างความสัมพันธ์ด้วย ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และในตะวันออกกลาง เช่น ประเทศซาอุดิอารเบีย อิหร่าน คูเวต และอีกหลายประเทศที่มีทรัพยากรน้ำมันมาก
ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 มีพลังหลายกระแสที่ไหลเข้ามา ส่งผลกระทบทำให้ระบบการเมืองระหว่างประเทศแบบเก่าต้องพังทลาย เช่น การพังทลายของระบบคอมมิวนิสต์มีสาเหตุจากพลังทางเศรษฐกิจและพลังลัทธิชาตินิยมยุดใหม่ ตลอดจนพลังของปัญหาต่างๆ ทำให้ระบบระหว่างประเทศเข้าสู่ระบบระหว่างประเทศแบบใหม่ (New International System)
อดีตประธานาธิบดีไอเซนเฮาว์ ได้เน้นถึงบทบาททางเศรษฐกิจว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของพลังอำนาจแห่งชาติ ทางด้านประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับเอกราชใหม่ๆ ก็ได้เน้นว่าเศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญ การยอมรับว่าเศรษฐกิจเป็นพลังสำคัญ เป็นผลรวมของเหตุการณ์
สหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก และญี่ปุ่น ได้ตระหนักว่า จำเป็นต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานและทรัพยากรประเภทสินแร่ และอื่นๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ทำให้ยุโรปตะวันตกสร้างสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน (Economic and Monetary Union) ขึ้น
จะเห็นได้ว่า เศรษฐกิจมีควาสำคัญเท่ากับทหาร น้ำมันเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญทั้งสองอย่างมีความเชื่อมโยงกัน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในด้านการค้าทำให้รัฐในภูมิภาคต่างๆ ของแต่ละภูมิภาคมารวมกลุ่มกัน พยายามผลักดันให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรี (Free Trade Area) ทำให้มีการเจราจรระหว่างประเทศขึ้น เช่น ยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น แต่ละรัฐสนับสนุนเขตการค้าเสรี ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตเพิ่มขึ้น ค่าจ้าง แรงงานเพิ่มขึ้น และราคาสินค้าลดลง และเมื่อมีการแข่งขันระหว่างภูมิภาคต่างๆ อาจส่งผลทำให้เกิดสงครามทางการค้า (Trade Wars)
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน แบ่งออกได้ 4 ระยะ
ระยะที่ 1 ระยะก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการศึกษาค้นค้าวหาหลัดฐานทางประวัติศาสตร์ของความสัมพันธ์อย่างแท้จริง ทำให้การศึกษาความสัมพันธ์มีความถูกต้องตรงกับความเป็นจริงมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด
ระยะที่ 2 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการเมืองระหว่างประเทศ มุ่งศึกษาถึงเหตุการณ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นใหม่ๆ แต่มิได้มีการพิจารณาศึกษาถึงปัญหาทางการเมือง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในการทำให้เกิดสงครามหรือสันติภาพ
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มีการศึกษาถึงสถาบันระหว่างประเทศ เช่น ทูตและกงสุล ควบคุมกับการศึกษากฎหมายระหว่างประเทศ และการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศตลอดจนศึกษาความคิดในเรื่องดุลแห่งอำนาจ
ระยะที่ 4 ระยะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงปัจจุบัน การศึกษาได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับ เริ่มการศึกษาเรื่องกำลังและอิธิพลต่างๆ ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรม มีการศึกษาปรับปรุงข้อขัดแย้งต่างๆ ศึกษาเรื่องการดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจและผลประโยขน์ของชาติ ตลอดจนทำการศึกษาสิ่งแวดล้อมทางการเมืองที่มีอิทธิพลต่อกฎหมายการเมืองระหว่างประเทศ
ปัจจุบันการศึกษาได้มุ่งเน้นในเรื่องการวิจัยพฤติกรรมระหว่างประเทศโดยอาศัยสถิติ ตัวเลข และการทดสอบ ผลคือทำให้มีการสร้างทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากขึ้น
การสิ้นสุดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การตัดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นวิธีการเตือนอย่างหนึ่งของรัฐต่อการกระทำของรัฐอื่น ที่ทำให้ตนเองไม่พอใจ เช่น ปี ค.ศ.1908 สหรัฐอเมริกาตัดความสัมพันธ์กับเวเนซุเอลา และในปี ค.ศ.1909 ตัดความสัมพันธ์กับนิการากัว และอังกฤษได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับโซเวียต ในปี ค.ศ. 1927 ซึ่งอังกฤษได้กล่าวหาว่ารัสเซียได้กระทำการโฆษณาเป็นปฏิปักษ์กับอังกฤษ หรือกรณีที่ประเทศชิลีไล่ผู้แทนทางการทูตของยูโกสลาเวียออกนอกประเทศเนื่องจากว่าได้มีการยุยงให้เกิดการนัดหยุดงานในปี ค.ศ. 1947 ยูโกสลาเวียจึงประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับชิลี
การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตไม่ผิดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ นอกจากประกาศความสัมพันธ์ทางการทูตแล้วจะต้องมีการประกาศยกเลิกสนธิสัญญาที่มีอยู่ทั้งหมด เพื่อไม่ให้มีพันธะต่อกัน
บางครั้งความไม่พอใจที่เกิดขึ้นนั้นถึงขั้นรุนแรง ประเทศที่ไม่พอใจอาจจะประกาศสงครามต่อรัฐคู่กรณี จึงเป็นอันว่าความสัมพันธ์ระหว่างรัฐทั้งสองสิ้นสุดลง
อ้างอิง : https://www.gotoknow.org/posts/179283